กะลาไม้แขวน "ลุงเชิด กะลาไม้แขวน"
2 สิงหาคม 2560

/data/content/191/cms/aeflnqrtuy18.jpg
"ลุงเชิดเจ้าของภูมิปัญญา กับลูกสาว นำผลิตภัณฑ์จากกะลาไปวางขายที่ตลาดย้อนยุคบางระจัน"

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

       ในปัจจุบันวัสดุที่เหลือใช้จากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์มีมากขึ้นเรื่อยๆ และวัสดุบางประเภท
มีมากในท้องถิ่นสามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้และนำไปจำหน่าย ซึ่งใช้สอยเพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุด และสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว ซึ่งกะลามะพร้าวเป็นสิ่งที่หาง่ายในท้องถิ่น
กลุ่มของข้าพระเจ้าจึงได้คิดนำกะลามะพร้าวมาทำโคมไฟจากกะลามะพร้าวและโมเสดกะลามะพร้าว ซึ่งสามารถนำมา
ตกแต่งอาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ต่างๆได้ และเกิดความสวยงามแก่ผู้พบเห็น และยังได้นำกะลามะพร้าวมาแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากกะลามะพร้าวให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ของ
ใช้จากกะลา ที่มีหลายรูปแบบเราจึงสร้างสรรค์ของผลงานจากกะลามะพร้าวในรูปแบบใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์

       มะพร้าวเป็นสิ่งที่หาง่ายในท้องถิ่น และส่วนต่างๆของกะลามะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเช่น
ผลอ่อนนำมารับประทานได้เนื้อมะพร้าวที่เป็นผลแก่นำไปปรุงอาหารและนำไปใช้ทำขนมได้หลายชนิดละใช้สกัด
เป็นน้ำมัน ส่วน เปลือกของมะพร้าวที่เหลือสามารถเอาไปแยกแล้วนำเส้นใยมาทำเชือก ส่วนกะลามะพร้าวก็
สามารถนำมาทำเป็นภาชนะและเป็นของใช้ภายในบ้าน เพราะกะลามะพร้าวเมื่อขัดเงาจะมีความสวยงาม
มากซึ่งสามารถนำมาทำสิ่งประดิษฐ์ของใช้จากกะลา เพื่อนำมาตกแต่งบ้านเรือนปละสถานที่ต่างๆก็จะ
ทำให้เกิดความสวยงามแก่ผู้พบเห็นได้

/data/content/191/cms/aehimopryz48.jpg
                           "ลุงเชิด เอี่ยมรักษา กับลูกสาว"

ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น
"ลุงเชิด กะลาไม้แขวน"  ชื่อ นายเชิดศักดิ์   นามสกุล เอี่ยมรักษา
ที่อยู่บ้านเลขที่ ๑๘๑ หมู่ ๑ ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี  

/data/content/191/cms/bdklorsw1289.jpg

ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น
           "ลุงเชิด กะลาไม้แขวน"  ชื่อ นายเชิดศักดิ์   นามสกุล เอี่ยมรักษา อยู่บ้านเลขที่ ๑๘๑
หมู่ ๑ ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี  ลุงเชิดเป็นต้นรับในการคิดหาวิธีการทำของประดับตกแต่งจาก
กะลามะพร้าว โดยคิดขึ้นมาเอง อาศัยทักษะและประสบการณ์ ในชีวิตของตัวเองที่่ชอบการประดิษฐ์
ในด้านต่างๆ จนปัจจุบัน หลังค้นพบการทำกะลามะพร้าวธรรมดา ให้กลายเป็นของใช้ ประดับตกแต่งได้
จึงได้ทำขึ้นและลองนำวางออกตลาดขาย  ปรากฏว่า ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะมีทั้่งความสวยงาม
และสามารถไปใช้ตกแต่งสวยได้ และต่อมาก็สามารถสร้างเป็นอาชีพได้ จนปัจจุบัน มีนักเรียนและนักศึกษา
มาขอความรู้ ลองประดิษฐ์ที่บ้านอย่างเป็นประจำ 
         สำหรับกะลามะพร้าวนี้ ลุงเชิดสามารถดัดแปลงให้เป็นรูปร่างของสัตว์ต่างๆได้อย่างมากมาย แล้ว
จะจินตนาการทำได้ อาทิเช่น รูปไก่ รูปมังกร รูปนก เป็นต้น  ราคาขายต่อชิ้น อยู่ที่ ๑๐๐ - ๑๕๐ บาท 


/data/content/191/cms/bdehijrstu19.jpg
สามเณรวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา มาศึกษาการทำกะลากับลุงเชิด

ขั้นตอนการประดิษฐ์กะลาไม้แขวน

๑.ตัดเปลือกมะพร้าวข้างนอกออกให้หมด
๒.ใช้มีดปาดขึ้นรูปทรงที่ออกแบบ ณ ที่นี้ตัดเป็นรูปไก่ 
๓.ใช้เหล็กฉีกมะพร้าวอีกลูกเพื่อที่จะได้ใช้มีดตัดแต่งเป็นหาง หงอนและขาไก่
๔.ใช้กาวร้อนติดส่วนของหงอน ปีกและขา เพื่อ ให้เป็นรูปตามที่ต้องการ
๕.ใช้เครื่องเจาะ เจาะเป็นรูเพื่อร้อยเชือกและตัด เป็นรูปวงกลมบนตัวไก่เพื่อให้มีช่องว่างใส่ไม้ประดับ
๖.ใช้สิ่วขูดเอาเนื้อในมะพร้าวออกให้หมด
๗.เสร็จแล้ววาดลวดลาย ด้วยความร้อนของหัวแร้ง
๘.ทาสีน้ำมันเพื่อความสวยงาม
๙.ร้อยเชือกฟางเพื่อนำไปแขวนประดับหรือส่งขายวิธีการจำหน่าย