ตำนานทองเอน “พ่อเฒ่าหมีโพรงไม้”
26 กรกฎาคม 2560

     พ่อเฒ่าหมี เป็นคนลาวแง้วทองเอนคนแรกที่เกิดในเมืองไทย

  ระหว่างเดินทางอพยพมากจากลาว เป็นเรื่องที่คนเก่า คนแก่รู้จักกันดี
และเล่าสืบต่อกันมา ถือว่าเป็นเรื่องปาฎิหาริย์ที่ตาหมี ทารกแรก
เกิดอยู่ในโพรงหมี แล้วรอดชีวิตมาได้

  จากคำบอกเล่าของ พ่อเฒ่ายอด พรหมสโร และพ่อนิคม ปุ้งเผ่าพันธ์ 
พอสรุปได้ใจความได้ดังนี้

    เมื่อครอบครัวถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์ ครั้งนั้น ครอบครัวของ
พ่อเฒ่าหมีโดนกวาดต้อนมายกครัว มีทหารไทยคุมมา แม่ของพ่อเฒ่าหมี
ท้องกำลังแก่ และพอเดินทางมาถึงเมืองไทยได้คลอดลูกระหว่างทางด้วย
ร่างกายที่ตรากตรำ จิตใจที่บอบช้ำและหนทางลำบาก นางจึงอ่อนแอ
แทบไม่มีแรงยืน ทหารเกรงจะเสียเวลาเดินทาง จึงเร่งให้นางเดินทางต่อ 

   นางเห็นว่า คงอุ้มทารกน้อยเดินทางต่อไปด้วยไม่ไหว ถ้าขืนอิดออด
เกรงจะถูกทหารทำร้ายลูกน้อย จึงตัดใจเสี่ยงโดยนำผ้าอ้อมห่อทารกแล้ว
วางในโพรงต้นไม้ใหญ่ที่หมีขุดโพรงไว้อาศัย ด้วยหวังว่ากลุ่มลาวแง้วที่เดิน
ตามหลังมาอันมีครอบครัวของนางคงจะช่วยชีวิตทารกน้อยไว้ได้

   ทารกน้อยโดนมดกัดตาเจ็บ จึงส่งเสียงร้องจ้า เป็นความโชคดีที่กลุ่มลาว
อพยพกลุ่มหลังเดินทางมาถึง ได้ยินเสียงทารกร้อง จึงรีบไปนำมาเลี้ยงดูใน
ระหว่างการเดินทาง เมื่อมาถึงไทยจึงได้ตั้งรกรากที่สิงห์บุรี และสืบทอด
ชาติพันธุ์เรื่อยมา จนปัจจุบันมีลูกหลานของพ่อเฒ่าหมีหลายคนมาอยู่ที่
ทองเอน

ลูกของพ่อเฒ่าหมีและแม่เฒ่ารอดที่อยู่ทองเอนคือ

๑.นางปาน (แต่งงานกับตาเทิน) มีลูกชื่อ นางทุย นางซุ้ยมีหลาน
ชื่อนางลำไย เป็นชาวบ้านไผ่ดำหมู่ที่ ๑๔

๒.นางขำ (แต่งงานกับนายดี ต่อมาบวชพระ คือหลวงพ่อดี วัดกลาง) 
มีลูกคือ นายที (พ่อตาของครูสังวาล แก้วเหล็ก)ตระกูลแก้วเหล็ก 
จึงเป็นเชื้อสายของพ่อเฒ่าหมี นางสี มีลูก(เท่าที่จำได้) คือ 
นางกุหลาบและนายเหลือ (นายเหลือได้แต่งงานกับนางสา 
มีลูกคือนางทองหล่อ)


                 พ่อเฒ่ายอด พรหมสโร(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) กำลังเล่าประวัติศาสตร์ลาวแง้ว

/data/content/166/cms/dhrstvwy1345.jpg

                                      คุณพ่อนิคม ปุ้งเผ่าพันธ์

/data/content/166/cms/abcdelmnvx36.jpg
พ่อเฒ่าหมี เป็นคนลาวแง้วทองเอนคนแรกที่เกิดในเมืองไทย
ระหว่างเดินทางอพยพมากจากลาว เป็นเรื่องที่คนเก่า คนแก่รู้จักกันดีและเล่าสืบต่อกันมา ถือว่าเป็นเรื่องปาฎิหาริย์ที่ตาหมี ทารกแรกเกิดอยู่ในโพรงหมี แล้วรอดชีวิตมาได้
จากคำบอกเล่าของพ่อเฒ่ายอด พรหมสโร และพ่อนิคม ปุ้งเผ่าพันธ์พอสรุปได้ใจความได้ดังนี้
เมื่อครอบครัวถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์ ครั้งนั้นครอบครัวของพ่อเฒ่าหมีถูก กวาดต้อนมายกครัว มีทหารไทยคุมมา แม่ของพ่อเฒ่าหมีท้องแก่พอเดินทางมาถึงเมืองไทย ได้คลอดลูกระหว่างทาง ด้วยร่างกายที่ตรากตรำ จิตใจที่บอบช้ำและหนทางลำบากนาง จึงอ่อนแอแทบไม่มีแรงยืน ทหารเกรงจะเสียเวลาเดินทาง จึงเร่งให้นางเดินทางต่อ นางเห็นว่า คงอุ้มทารกน้อยเดินทางต่อไปด้วยไม่ไหว ถ้าขืนอิดออดเกรงจะถูกทหารทำร้าย ลูกน้อยจึงตัดใจเสี่ยงโดยนำผ้าอ้อมห่อทารกแล้ววางในโพรงต้นใหญ่ที่หมีขุดโพรงไว้อาศัยด้วยหวังว่ากลุ่มลาวแง้วที่เดินตามหลังมา อันมีครอบครัวของนางคงจะช่วยชีวิตทารกน้อยไว้ได้
ทารกน้อยโดนมดกัดตาว เจ็บจึงส่งเสียงร้องจ้า เป็นความโชคดีที่กลุ่มลาวอพยพกลุ่มหลังเดินทางมาถึง ได้ยินเสียงทารกร้องลูกหลานของพ่อเฒ่าหมีหลายคนมาอยู่ที่ทองเอน
ลูกของพ่อเฒ่าหมีและแม่เฒ่ารอดที่อยู่ทองเอนคือ
1.นางปาน (แต่งงานกับตาเทิน) มีลูกชื่อ นางทุย นางซุ้ยมีหลานชื่อนางลำไย เป็นชาวบ้านไผ่ดำหมู่ที่ 14
2.นางขำ (แต่งงานกับนายดี ต่อมาบวชพระ คือหลวงพ่อดี วัดกลาง) มีลูกคือ นายที (พ่อตาของครูสังวาล แก้วเหล็ก)ตระกูลแก้วเหล็ก จึงเป็นเชื้อสายของพ่อเฒ่าหมี นางสี มีลูก(เท่าที่จำได้) คือ นางกุหลาบและนายเหลือ (นายเหลือได้แต่งงานกับนางสา มีลูกคือนางทองหล่อ)