พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์
28 พฤษภาคม 2562

พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ ต.ต้นโพธิ์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี

/data/content/515/cms/befghlquv568.jpg



ประวัติความเป็นมา ของวัดสว่างอารมณ์นั้น สร้างขึ้นประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๑๘ (สมัยรัชกาลที่ ๕)
โดยมีหลวงพ่อเรือง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมา ได้มีคณะหนังเร่ จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินทางผ่านวัดสว่างอารมณ์
หัวหน้าคณะ คือ ครูเปีย มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา และ หลวงพ่อเรือง จึงได้มอบตัวหนังถวายแก่ทางวัดให้เป็นผู้ดูแล

ครูเปียได้ฝึกซ้อมการแสดงหนังใหญ่ให้กับชาวบ้านในละแวก นั้น ผู้ที่ได้รับสืบทอดวิธีการแสดงจากครูเปียเป็นผู้ดูแลหนังใหญ่
ในยุคนั้น คือ นายนวม ศุภนคร ต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนบางมอญ กิจประมวญ (ต้นสกุลศุภนคร)
ได้จัดการแสดงหนังใหญ่ในเขต จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดใกล้เคียง

จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๑ ขุนบางมอญกิจประมวญ ได้ถึงแก่กรรม นายเชื้อ ศุภนคร บุตรชาย จึงได้เป็นหัวหน้าคณะ หรือ
นายหนังสืบทอดต่อมา การแสดงหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี เป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทำให้จัด
การแสดงบ่อยครั้ง ในยุคของ นายเชื้อ ศุภนคร ต่อมา มหาเพียร ปิ่นทอง จัดซื้อตัวหนังใหญ่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกชุดหนึ่ง
คือ บุตร-ลบ (ศึกพระมงกุฏ-พระลบ) จากจังหวัดลพบุรี

/data/content/515/cms/cjknorstu158.jpg


/data/content/515/cms/dgimrsxz3457.jpg

จากนั้น การแสดงเริ่มเสื่อมความนิยม เนื่องจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้การแสดง
หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์จังหวัด สิงห์บุรี ต้องปิดตัวด้วยสภาวการณ์ดังกล่าว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ คณะครูจากวิทยาลัยครู
พระนครศรีอยุธยาโดยการนำของ นางอมรา กล่ำเจริญ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์สมัยนั้น ได้เดินทางมาติดต่อการแสดงหนังใหญ่
วัดสว่างอารมณ์ เพื่อจัดการแสดง เชิงสาธิตวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ทำให้กลุ่มผู้แสดงหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ได้รวม
ตัวกันจัดการแสดง หนังใหญ่ ปรับปรุงพื้นฟูกระบวนท่าเชิดหนังขึ้นอึกครั้ง และ ในปัจจุบันได้แต่งตั้งให้นายฉอ้อน ศุภนคร
กำนันตำบลต้นโพธิ์ในขณะนั้น เป็นผู้นำทำหน้าที่หัวหน้าคณะหนังใหญ่ จัดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อมา

ปัจจุบันนายฉอ้อน ศุภนคร อายุมากแล้ว จึงมอบหมายให้ นายดำรงค์ ปิ่นทอง เป็นประธานหนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์
ขณะนี้ตัวหนังใหญ่มีจำนวน ๒๒๘ ตัวได้เก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ ส่วนการแสดง ได้มีการถ่ายทอด
ให้ชาวชุมชนและอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้จนสามารถ เป็นครูผู้สืบทอดได้หลายคน พร้อมทั้งนำไปเผยแพร่ให้แก่
สถานศึกษา ผู้สนใจภายในจังหวัดและต่างจังหวัดได้เห็นคุณค่าของหนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ ฯ

ผลงานการแสดงหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์เป็นที่ยอมรับ ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนใจและหน่วยงานของทาง ราชการ
สมควรที่จะอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ให้อยู่คู่กับชาติไทยสืบไป สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ(ส.ว.ช.) จึงได้ มอบโล่เกียรติยศให้กับ
กลุ่มศิลปินผู้แสดงหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี ในฐานะกลุ่มผู้อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านดีเด่น
ประจำปี ๒๕๓๕ และ พ.ศ.๒๕๓๖ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต หนังใหญ่ เป็นศิลปะการแสดงที่ใช้การเชิดการแสดงท่าทางของตัวหนัง การพากย์ การเจรจา ให้สอดคล้อง
กับเนื้อเรื่องในการแสดง เรื่อง รามเกียรติ์ในตอนนั้นๆ ได้อย่างงดงาม

ซึ่งการแสดงจะมีขั้นตอนในการแสดง ดังนี้
๑.เริ่มต้นด้วยการไหว้ครู
๒.การเล่นเบิกโรงชุดจับลิงหัวค่ำ
๓.จับเรื่องที่แสดงส่วนใหญ่เป็น เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกทศกัณฑ์ ครั้งที่ ๕ (ศึกใหญ่)

ดังนั้น ลักษณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ที่โดดเด่นประกอบด้วย
๑.ตัวหนังใหญ่ ซึ่งตัวหนังจะมีมากถึง ๒๒๘ ตัว สามารถแสดงได้ ๕ ชุด หรือ ๕ ศึก คือ
๑.๑ ศึกบุตรลบ (พระมงกุฏ - พระลบ)
๑.๒ ศึกนาคบาศ
๑.๓ ศึกทศกัณฑ์ ครั้งที่ ๕ (ศึกใหญ่)
๑.๔ ศึกวิรุญจำบัง แต่นิยมแสดงศึกทศกัณฑ์ ครั้งที่ ๕ (ศึกใหญ่) มากที่สุด
๑.๕ ตอนสองอาสา ตัวหนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์จะมีช่างฝีมือ ที่หลากหลายสกุลในการแกะตัวหนัง
การลงสีการทำตับหนังตัวหนัง จะมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับที่อื่น ซึ่งหนังครูมี ๓ ตัว คือ ตัวฤษีทำจากหนังสือหรือหนังหมี
อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อว่ามีอำนาจบารมี ตัวหนังพระนารายณ์และพระอิศวรทำจากหนังวัวที่ถูกฟ้าผ่าตาย คลอดลูกตาย
และถูกเสือกัดตายขั้นตอนการแกะสลักหนังครูผู้แกะสลักจะต้องรับศีล นุ่งขาว ห่มขาว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งแต่ละตัวจะต้องทำ
ให้เสร็จภายใน ๑ วัน ส่วนหนังใหญ่ที่ใช้แสดงจะทำจากหนังวัว หรือ หนังควาย ส่วนมากจะเป็นหนังที่ใช้แสดงกลางคืนเพราะตัว
หนังมีการให้สีจากเปลืองไม้โบราณ จะมีลักษณะทึบ ถ้าแสดง กลางคืนแสงไฟที่สะท้อนจากหลังจอจะทำให้เห็นเงา
และลวดลายของตัวหนังได้ชัดเจนอ่อนช้อย วิจิตร สวยงาม

/data/content/515/cms/bdefgjosvw69.jpg /data/content/515/cms/degjnoqtw137.jpg
   
/data/content/515/cms/adjlmnovx247.jpg /data/content/515/cms/bdejrtuz2369.jpg
   
/data/content/515/cms/acefmstvz256.jpg /data/content/515/cms/emoptuvwy467.jpg