หลวงพ่อศรี เกสโร วัดพระปรางค์
27 มิถุนายน 2560

/data/content/72/cms/bejkrty25789.jpg

ด้านชาติภูมิของ 
     หลวงปู่ศรี ท่านเป็นชาว อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ชาตะ ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๐ ในวัยเยาว์
ท่านชอบศึกษาวิชาไสยเวท คิดจะเป็นคนกล้า คนจริงแบบ “วีรชนชาวบ้านบางระจัน” ในอดีต
      เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดสุวรรณราชหงส์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 
โดยมี พระอาจารย์หิน วัดโบสถ์ อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า
“เกสโร” มีความหมายว่า “ต้นไม้”
      หลังจากนั้นได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์จนเชี่ยวชาญแล้วจึงย้าย มาจำพรรษา
ที่วัดพระปรางค์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระครูวิริยะโสภิต”
     หลวงปู่ศรี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัด เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านไสยเวท
ทุกแขนง มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นเพชรน้ำเอกในลุ่มแม่น้ำน้อย มีพระคณาจารย์มากมายหลายรูป ทั้ง จ.สิงห์บุรี 
และจังหวัดใกล้เคียงมาฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิชาไสยเวทกับหลวงปู่ศรี เช่น หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ จ.สิงห์บุรี,
 หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท, 
หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท, หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา จ.อ่างทอง 
และยังมีพระคณาจารย์อื่นๆ อีกหลายรูป ซึ่งในยุคนั้นถือได้ว่า วัดพระปรางค์ เป็นตักศิลาแห่งวงการไสยเวท
บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเลยทีเดียว
     หลวงปู่ศรีเป็นพระภิกษุที่สำรวม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิบัติที่น่าศรัทธาเลื่อมใส ถือการ
บิณฑบาตเป็นกิจวัตรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เมื่อออกพรรษาท่านจะออกธุดงควัตรเป็นประจำเพื่อฝึกพลังจิต
ให้เข้มแข็งและโปรดเวไนยสัตว์
     ท่านได้ให้ความอนุเคราะห์แก่สาธุชนทั่วไปอย่างเสมอภาค จนเกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกล 
นอกจากนี้ ท่านยังเชี่ยวชาญภาษาขอมและสามารถสวดพระปาฏิโมกข์ได้อย่างคล่องแคล่ว มีทำนองที่ไพเราะ
เพราะพริ้งเป็นที่สุด
 

     หลวงปู่ศรี ท่านเป็นชาว อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ชาตะ ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๐ ในวัยเยาว์
ท่านชอบศึกษาวิชาไสยเวท คิดจะเป็นคนกล้า คนจริงแบบ “วีรชนชาวบ้านบางระจัน” 
      เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดสุวรรณราชหงส์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 
โดยมี พระอาจารย์หิน วัดโบสถ์ อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า
“เกสโร” มีความหมายว่า “ต้นไม้”
      หลังจากนั้นได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์จนเชี่ยวชาญแล้วจึงย้าย มาจำพรรษา
ที่วัดพระปรางค์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระครูวิริยะโสภิต”
     หลวงปู่ศรี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัด เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านไสยเวท
ทุกแขนง มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นเพชรน้ำเอกในลุ่มแม่น้ำน้อย มีพระคณาจารย์มากมายหลายรูป ทั้ง จ.สิงห์บุรี 
และจังหวัดใกล้เคียงมาฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิชาไสยเวทกับหลวงปู่ศรี เช่น หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ จ.สิงห์บุรี,
หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท, 
หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท, หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา จ.อ่างทอง 
และยังมีพระคณาจารย์อื่นๆ อีกหลายรูป ซึ่งในยุคนั้นถือได้ว่า วัดพระปรางค์ เป็นตักศิลาแห่งวงการไสยเวท
บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเลยทีเดียว
     หลวงปู่ศรีเป็นพระภิกษุที่สำรวม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิบัติที่น่าศรัทธาเลื่อมใส ถือการบิณฑบาต
เป็นกิจวัตรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เมื่อออกพรรษาท่านจะออกธุดงควัตรเป็นประจำเพื่อฝึกพลังจิตให้เข้มแข็ง
และโปรดเวไนยสัตว์
     ท่านได้ให้ความอนุเคราะห์แก่สาธุชนทั่วไปอย่างเสมอภาค จนเกียรติคุณของท่านขจรขจายไปไกล
นอกจากนี้ ท่านยังเชี่ยวชาญภาษาขอมและสามารถสวดพระปาฏิโมกข์ได้อย่างคล่องแคล่ว มีทำนองที่ไพเราะ
เพราะพริ้งเป็นที่สุด

พระครูวิริยะโสภิต (หลวงปู่ศรี เกสโร) วัดพระปรางค์ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี


ชาติภูมิของ หลวงปู่ศรี นั้น ท่านเป็นชาวอำเภอแสวงหา จ.อ่างทอง ชาตะ ปีมะโรง พ.ศ.2410 


ในวัยเยาว์ท่านชอบศึกษาวิชาไสยเวท เมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบท 

ที่วัดสุวรรณราชหงส์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง โดยมี พระอาจารย์หิน วัดโบสถ์ อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง 

เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า "เกสโร"



หลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัด 

เนื่องจากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญไสยเวทย์ทุกแขนง มีวิทยาคมแก่กล้า เป็นเพชรน้ำเอกในลุ่มแม่น้ำน้อย 

มีเกจิคณาจารย์มากมาย มาฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาไสยเวทย์กับหลวงปู่ศรี เช่น หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่ จ.สิงห์บุรี 

หลวงพ่อเชน วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท หลวงปู่เย็น

 วัดสระเปรียญ จ.ชัยนาท หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา จ.อ่างทอง 

และยังมีพระคณาจารย์อื่นๆอีกหลายรูป ซึ่งในยุคนั้นถือได้ว่า วัดพระปรางค์เป็นตักศิลาแห่งวงการไสยเวท

บริเวณภาคกลางของประเทศไทยเลยทีเดียว


ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่ศรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "อาจารย์เหนืออาจารย์"

เนื่องจากลูกศิษย์ของท่านในยุคต่อมาได้เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังในวงการพระเครื่องแทบจะทุกรูป


พระคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาไสยเวทย์ให้หลวงปู่ศรี คือ หลวงพ่อไกร วัดใหญ่ท่าฉนวน 

อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท หลวงปู่ศรีได้ศึกษาวิชาไสยเวทจนเจนจบจากหลวงพ่อไกร ต่อมาหลวงปู่ศรีได้รับ

การยกย่องให้เป็นพระคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญวิชาไสยเวท จนเป็นหนึ่งในพระคณาจารย์ที่ได้รับกิจนิมนต์

ให้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก เหรียญพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) 

เมื่อ พ.ศ.2475 ซึ่งได้จัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 150 ปี 


พิธีดังกล่าวยิ่งใหญ่ มีพระคณาจารย์ชื่ดังทั่วประเทศที่ได้รับคัดเลือกแล้วว่า

เป็นผู้ที่แก่กล้าด้านอาคมเข้าร่วมพิธีถึง 43 รูป อาทิ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อสด 

วัดปากน้ำภาษีเจริญ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อคง 

วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา หลวงพ่อชม วัดพุทไธยศวรรย์ ฯลฯ




หลวงปู่ศรี มรณภาพ เมื่อ พ.ศ.2482 แรม 1 ค่ำ เดือน 11 สิริอายุ 72 ปี พรรษา 52