หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี
27 มิถุนายน 2560

/data/content/70/cms/chjlmotx1457.jpg

หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล แห่ง วัดศรีสาคร

             วัดศรีสาคร จ.สิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๔๘๑ บริเวณวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ รวมทั้งโรงเรียนโดยประมาณ ๔๐ ไร่ มีเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดมาแล้ว ๑๐ รูป

รูปที่ ๑ หลวงพ่อศรี
รูปที่ ๒ หลวงพ่อสา (เป็นน้องชายหลวงพ่อศรี)
รูปที่ ๓ หลวงพ่อสน
รูปที่ ๔ หลวงพ่อเพชร
รูปที่ ๕ หลวงพ่อปั้น
รูปที่ ๖ หลวงพ่อสว่าง
รูปที่ ๗ หลวงพ่อเกิด
รูปที่ ๘ หลวงพ่อเชื้อ
รูปที่ ๙ พระอาจารย์ดี
รูปที่ ๑๐ พระครูมงฺคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

             ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีประพฤติชอบมีชื่อเสียงโด่งดัง มีปฏิปทาเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธามาก
ยิ่งของชาวจังหวัดสิงห์บุรี และชาวพุทธในจังหวัดใกล้เคียงอีกจำนวนมาก ด้านวัตถุมงคลของหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล
ทุกรุ่นมีประสบการณ์ ศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับโดยเฉพาะเหรียญรุ่น ๑ ปีพ.ศ.๒๕๑๔ มีค่ามาก นิยมเล่นหาประ
มาณ ๑๕,๐๐๐ บาท ต่างกล่าวขานกันว่าท่านบรรลุญาณสมาบัติชั้นสูง หูทิพย์ตาทิพย์ ได้อภิญญา ๖ ถอดกายทิพย์
ไปบิณฑบาตรต่างแดนในสถานที่ต่างๆ มีผู้พบเห็นเดินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาข้ามไปบิณฑบาตรอีกฝั่งตรงข้าม เข้า
ไปในห้องที่ปิดประตูทึบโดยสำเร็จวิชาแปลงธาตุ เช่นทึบให้เป็นอากาศธาตุน้ำให้เป็นดิน ลมให้เป็นไฟเป็นต้น
เมื่อเป็นที่โจษท์ขานเล่าลือกันอย่างหนาหู

           ชีวประวัติพระครูมงคลนวการ (หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล) 
           ชาติภูมิ"หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล"  มีนามเดิมว่า "ฉาบ ด้วงดารา"ถือกำเนิดวันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม
พ.ศ.๒๔๗๑ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง ๗ คนด้วยกัน คือ ๑.หลวงพ่อฉาบ ๒.นายเอิบ ๓.นายสังวาล
๔.นายประสงค์ ๕.นายถวิล ๖.นายปุ่น ๗.นางสมนึก ของโยมพ่อเน่า และโยมแม่สมบุญ ณ บ้านเลขที่ ๒๗
ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี จบการศึกษาชั้นป.๔ ที่โรงเรียนวัดศรีสาคร อาชีพทำนา

          หลวงพ่อฉาบ มงฺคโล ในวัยเด็กตอนยังเป็นฆาราวาส เป็นคนถือสัจจะเป็นใหญ่ มีความตั้งใจ พูดจริง
ทำจริงและสนใจในเวทย์มนต์คาถา มักชอบไปกราบนมัสการหาพระอยู่เสมอ ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ หลวงพ่อแช่ม
อินทโชโต แห่งวัดตาก้อง อ.เมือง จ.นครปฐม ท่านได้สร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านขึ้น ได้แจกให้คณะศิษยา
นุศิษย์ ทายกทายิกา ที่ร่วมทำบุญมาทำการทอดกฐินยังวัดศรีสาคร และได้มาพำนักอยู่ที่วัดศรีสาคร เป็น
เวลาถึง ๖ เดือน เพราะท่านขอบพอสนิทกับหลวงพ่อดี เจ้าอาวาสวัดศรีสาครในสมัยนั้น

          หลวงพ่อฉาบ ในวัยเด็กขณะนั้นอายุได้ ๑๔ ปี มีความศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อแช่มมาก ได้มากราบ
นมัสการ หลวงพ่อแช่มบ่อยครั้ง และได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ขอเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมต่างๆ    ในลำดับแรก
หลวงพ่อแช่มได้สอนให้เรียนรู้ทางด้านการปฏิบัติจิต สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ให้จิตนิ่งเป็นสมาธิ
ก่อน และหลังจากทำกรรมฐานและวิปัสสนาอยู่ ๓ เดือน หลวงพ่อแช่ม ก็ได้สอนวิชาคาถาอาคมต่างๆให้
ในปีพ.ศ.๒๔๘๖ หลวงพ่อแช่ม ก็ได้กลับไปวัดตาก้อง

          หลังจากนั้นในปี พ.ศ.๒๔๘๘ หลวงพ่อแช่มได้มาพำนักที่วัดศรีสาครอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา ๒๕ วัน
หลวงพ่อฉาบ ตอนนั้นอายุได้ ๑๗ ปี ได้เข้าพบรับใช้และเล่าเรียนสอบถามวิชาไสยเวทย์ พร้อมให้หลวงพ่อแช่ม
ช่วยทบทวนวิชาคาถาที่เล่าเรียนจนสามารถปฏิบัติได้ตามคำสอนอย่างดี แล้วหลวงพ่อแช่มก็เดินทางกลับ
วัดตาก้อง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๐ หลวงพ่อแช่ม ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพลงในปีนั้น

          ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศรีสาคร เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑
โดยมีพระครูเกศิวิกรม (หลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสังฆราชาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์
ประทุมเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฉ่ำ เจ้าอาวาสวัดตึกราชาวาสเป็นพระอนุ
สาวนาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้รับฉายาว่า มงฺคโล เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้ตั้งจิต
มั่นได้กล่าวคำสัจจะวาจาบอกกล่าว

          ต่อโยม บิดามารดาของท่านว่า เมื่อฉันได้บวชเรียนเป็นภิกษุแล้ว จะขอรับใช้พระพุทธศาสนา
ตลอดชีวิต โยมพ่อและโยมแม่ก็ไม่ได้ทักทวงแต่ประการใด เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีสาคร
๒ พรรษา ได้เรียนพระธรรมวินัยไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคมจากหลวงพ่อทรัพย์ ฐิตปญฺโญ
ซึ่งองค์นี้เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพูล(เจ้าอาวาสองค์ก่อน) วัดสังฆราชาวาส ซึ่งเป็นสหายธรรมของหลวงพ่อ
เชย วัดท่าควาย และหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพูล วัดสังฆราชาวาสเป็นเหรียญ
ยอดนิยมของชาวเมืองสิงห์บุรีมีค่านิยมหลักหมื่น ถือว่าเป็นสุดยอดเหรียญที่ศักดิ์สิทธิ์และคงกระพัน

        หลังจากหลวงพ่อฉาบได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อทรัพย์แล้ว ก็ได้ปรึกษาหลวงพ่อทรัพย์ในการ
ปฏิบัติกิจแห่งธุดงค์วัตรก็ได้รับการแนะนำสั่งสอนอย่างดีในปีพ.ศ.๒๔๙๓ โดยมุ่งสู่จังหวัดลพบุรีดินแดน
ซึ่งเคยเป็นอาณาจักร ลวปุระ (ละโว) อันรุ่งเรืองเกรียงไกรมาแล้ว หลวงพ่อฉาบได้เดินธุดงค์ไปยังถ้ำตะโก
เพื่อจะไปหาความสงบวิเวก เมื่อถึงถ้ำตะโก มาทราบว่าหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ท่านได้ละ
สังขารมรณภาพไปแล้ว ก็ได้พบกับหลวงพ่อคง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโก ศิษย์เอกหลวงพ่อเภา
ซึ่งได้รับสืบทอดวิชาวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่างๆ จากหลวงพ่อเภาทั้งหมด
         หลวงพ่อฉาบจึงได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาต่าง ๆ ของหลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จากหลวงพ่อ
คง คงฺคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา จากนั้นหลวงพ่อฉาบก็เดินทางมุ่งไปสู่วัดเขาสาริกา เพื่อจะ
ไปศึกษาธรรมกรรมฐานจากหลวงพ่อกบ ก็ปรากฎว่าได้มรณภาพไปแล้วเช่นกัน จึงได้มาปฏิบัติธรรมที่วัด
เขาวงกฎ วัดเขาวงกฎอยู่ติดกับวัดเขาสาริกาอยู่คนละฟากเขา ที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ตั้งอยู่ที่สนามแจง
ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใน วงล้อมของเขา เป็นลักษณะหุบเขาเปิด มีทางเข้า
ออกทางเดียว

        เมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๕ หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโกธุดงค์มาพบสถานที่แห่งนี้เข้าเห็นว่า เหมาะ
แก่การอบรมสมถกรรมฐานและเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาก จึงได้ทำการก่อสร้างให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์แบบ
มีถ้ำคูหาสวรรค์อยู่ที่เชิงเขาด้านทิศเหนือ ซึ่งหลวงพ่อเภา จะจำพรรษาและทำความเพียรในถ้ำคูหาสวรรค์
แห่งนี้ ต่อมากรมพระนครสวรรค์ พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธ์เสด็จมาที่เขาวงกฎได้พบหลวงพ่อเภา ทรง
เลื่อมใสในปฏิปทา และแนวทางในการปฏิบัติของหลวงพ่อ จึงได้ถวายปัจจัยให้ก่อสร้างวัด หลวงพ่อเภา
ได้สร้างกุฏิขึ้นหน้าถ้ำคูหาสวรรค์ให้ชื่อว่า “ตึกบริพัตร” ตามนามของผู้บริจาค และหลวงพ่อเภาได้มา
จำพรรษาที่กุฏินี้ตลอดมา

        หลังจากหลวงพ่อเภาได้มรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ที่วัดแห่งนี้ ในปีหนึ่งจะมีพระสงฆ์มาจากวัดต่างๆ
ทุกภูมิภาคมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ หลวงพ่อฉาบได้มาปฏิบัติธรรมได้พบกับ พระมหาชวน มลิพันธ์
(หลวงพ่อโอภาสี) หลวงพ่อฉาบได้พบหลวงพ่อโอภาสี เล่าเรื่องมีความศรัทธาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา
แต่มารู้ภายหลังว่าท่านได้มรณภาพไปแล้วด้วยความตั้งใจมุ่งหวังจะศึกษาวิชาต่างๆจากท่าน ก็ได้รับคำ
แนะนำจากหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นศิษย์ที่รับการถ่ายทอดวิชามาหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา หลวงพ่อฉาบ
จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโอภาสี ขอศึกษาวิชากสิณต่าง ๆ และไสยเวทย์ หลวงพ่อโอภาสีได้ฝึก
สอนวิชาต่างๆให้ เช่น กสิณไฟและคาถาอาคมต่างๆ ให้หลวงพ่อฉาบจำนวนมากและยังได้ชักชวนนิมนต์
ให้หลวงพ่อฉาบเดินทางไปพบท่าน ที่อาศมบางมดกรุงเทพฯ

          ในครั้งนั้นที่วัดเขาวงกฎหลวงพ่อฉาบ ยังได้พบปะรู้จักเป็นสหายธรรมกับ"หลวงพ่อชา สุภัทโท" 
แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกฎแห่งนี้ด้วย ได้ปฏิบัติธรรม
ร่วมกัน ได้ขอศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวทย์ต่าง ๆ กับหลวงพ่อชา สุภัทโท หลวงพ่อชา เกิดปี พ.ศ.๒๔๗๑
ปีเดียวกับหลวงพ่อฉาบ มงฺคโล หลวงพ่อชาท่านได้ละสังขารไปแล้ว เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ ร่วมสิริอายุได้ ๖๕ ปี
หลวงพ่อฉาบอยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเวลา ๔๕ วัน ก็ได้เดินทางกลับไปยังวัดถ้ำตะโกอีกครั้งหนึ่ง ได้พำนักอยู่ที่
วัดถ้ำตะโก พบปะใกล้ชิดกับหลวงพ่อคงอีกครั้ง ก็มาศึกษาพบว่า ที่วัดถ้ำตะโกแห่งนี้ อยู่ในบริเวณดอยเขา
เทือกเขาเดียวกับวัดต่างๆอีก ถึง ๓ วัด รวมดอยนี้มีวัดถึง ๔ วัดคือ วัดเขาสมอคอน วัดถ้ำช้างเผือก
วัดถ้ำตะโก และวัดบันไดสามแสน

          ในอดีตตั้งแต่ยุคสมัยทวาราวดีเป็นต้นมา ดอยเทือกเขานี้มีความสำคัญมากมีถ้ำใหญ่น้อยเป็นร้อยๆ
ถ้ำ เป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีลสมณะ ฤาษี พราหมณ์ เป็นแหล่งกำเนิดของวิชาไสยเวทย์มนต์คาถา แหล่งรวมวิชา
ไสยศาสตร์ เช่นวิชาขอมดำดิน ก็ก่อเกิดในที่แห่งนี้ เป็นตรรกศิลาแห่งไสยศาสตร์และเวทย์มนต์ วัดเขา
สมอคอนเป็นวัดอยู่ต้นดอย มีถ้ำพระนอนและที่พำนักของฤาษีสุกกะทันตะ และ ถ้ำพราหมณี พ่อขุนราม
คำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยก็มาศึกษาที่แห่งนี้ นับว่าเป็นแหล่งรวมศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่
           หลวงพ่อฉาบ ก็ได้เดินทางมาที่วัดเขาสมอคอน เข้ากราบนมัสการฝากตัวขอเป็นศิษย์เล่าเรียน
วิชาจากหลวงพ่อบุญมี อิสสรโรศิษย์ผู้รับการสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อพระครูปัชฌาย์ก๋ง จฺนทสโร
พระอุปัชฌาย์ก๋ง มีวิชาไสยเวทย์มากมายได้จากตำราเก่าอักขระยุคขอม ท่านเก่งมากเหรียญรุ่นแรกของ
ท่านชาวลพบุรีเล่นหากันหลักแสนจะขอย้อนกล่าวถึงความ เป็นมาของเทือกเขาสมอคอน ที่เป็นที่ตั้ง
ของวัดเขาสมอคอนอยู่บนดอยสำคัญที่ได้กล่าวมาให้ทราบถึงความ เป็นมาดังนี้

          เทือกเขาสมอคอนหรือเรียกดอยธัมมิกราช ดอยธัมมิกราชวิทยาลัยราชะแห่งยุวทวาราวดี ดอยธัมมิก
สาเหตุที่มีชื่อเรียกอย่างนี้เนื่องมาจาก สุกกทันตฤาษี (สุทันตะฤาษี)ในหนังสือชินกาลมนีกล่าวว่าสุกกทันตฤาษี
พำนัก ณ ดอยธัมมิก (เขาสมอคอน) อยู่ทางทิศใต้ของกรุงหริภุญชัย(ลำพูน) ในสมัยพระเจ้าจักรวัตติราช
แห่งกรุงละโว้ สุกกทันตฤาษีในสมัยนั้นย่อมเป็นที่รู้จักต่อฝูงชนหมู่คณาจารย์ และบรรดากษัตริย์ต่าง ๆ ทั่วทุกแคว้น
ดอยธัมมิกราช เป็นดอยที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในสมัยทวาราวดี เพราะทั้งภาษา
หนังสือและความหมายเป็นภาษาชั้นสูงของผู้คงแก่เรียนที่ได้รู้ ในทางพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงสถาปนา
ยอดดอยแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของบรรดาฤาษีและผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่หรืออีกนัยหนึ่งว่าเจ้ากรุงละโว้ทรง
เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนาจนได้สมญาพระนามว่าพระเจ้าธัมมิกราช ความสำคัญของดอยธัมมิกราช
เขาสมอคอนได้สมญานามว่าวิทยาลัยแห่งราชา ยุคทวาราวดียอมเป็นที่แน่นอนที่สุดที่บรรดาพระเกจิอาจารย์
ที่มีชื่อเสียงดัง เรื่องไสยเวทย์เข้มขลังเป็นที่ยอมรับในสมัยเก่าก่อนมากกว่า ๑๕๐ ปีขึ้นไปนั้น ส่วนใหญ่จะ
ได้รับการสืบทอดเผยแพร่วิชาไสยเวทย์ มาจากแหล่งกำเนิดวิชาจากดอยธัมมิกราชแห่งนี้ทั้งสิ้น

           หลวงพ่อฉาบ ได้เข้าจากธุดงค์ครั้งที่ ๒ แล้ว ก็อยู่แต่ภายในวัดศรีสาครไม่ได้เดินทางไปไหนอีกเลย
ท่านปิดกุฏิเป็นเวลานานมุ่งบำเพ็ญกรรมฐานและสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลาหลาย ๑๐ ปี ในแต่ละวันจะ
เปิดกุฎิรับญาติโยมและพุทธศาสนิกชนเพียงบางเวลาเท่านั้น ท่านไม่มีโทรทัศน์,วิทยุปิดกุฎิ ไม่รับรู้เรื่องภายนอก
แต่ท่านก็รอบรู้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี ท่านจะเน้นเรื่องกรรมบางครั้งสิ่งที่เป็นกรรมเหตุจะเกิดก็ไม่อาจเลี่ยงได้
ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม คุณสุนทรคนที่ดูแลหลวงพ่อคุยให้ฟังว่า หลวงพ่อจะพูดถึงหลวงพ่อชา สุภัทโท
อยู่เสมอ เหมือนท่านได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตถึงกันเหมือนติดต่อกันทางจิต ในวันที่หลวงพ่อชาได้ละสังขารลง
หลวงพ่อฉาบได้รีบเดินทางล่วงหน้าไปยังวัดหนองป่าพงและหลวงพ่อฉาบได้ไปร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพ
ในครั้งนั้นด้วย หลวงพ่อฉาบได้ศึกษาไสยเวทย์และคาถาต่างๆ จากพระเกจิอาจารย์และพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง
จำนวนมาก อีกทั้งท่านได้ปฏิบัติดีและประพฤติชอบตามพระธรรมวินัยคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวพุทธและชาวจังหวัดสิงห์บุรีอีกทั้งจังหวัด ใกล้เคียงอีกจำนวนมาก



ที่มา http://www.g-pra.com