วัดสิงห์สุทธาวาส
27 มิถุนายน 2560

/data/content/91/cms/adgjknquy136.jpg

       วัดสิงห์สุทธาวาส เดิมชื่อ วัดสิงห์ เป็นวัดไทย นิกาย มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลโพสังโฆ
อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ในอดีต
เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อนาค โบสถ์ของวัดนี้ ดูสวย
แปลกตากว่าที่อื่น เพราะมีตัวพญานาคสีพันอยู่รอบโบสถ์ ภายในก็มีจิตรกรรม
ฝาผนังอันงดงาม

       สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า
…เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ
พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์
อื่นๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่น ที่ถ้ำ
คูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข อำเภอเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทาง
ด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับ
พระเศียรแบบพระนอนไทย
"
       
เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา
       เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา ๒๐๐ เส้น (มาตราชั่ง ตวง
วัดของไทย
 ๑ เส้น เท่ากับ ๒๐ วา และ ๑ วา เท่ากับ ๒ เมตร) คิดเป็น ๘๐,๐๐๐ เมตร คิดเป็นเป็นระยะทาง
๘๐ กิโลเมตร 
เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้…” ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมือง
ที่ยิ่งใหญ่ใน
ประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่น
ฐานของชุมชน
โบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย

       เมืองสิงห์ ปัจจุบันอยู่ที่ตำบลโพสังโฆ เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำน้อย ก่อนเคยเป็นที่ตั้งเมืองสิงห์
มีหลักฐานเป็นเจดีย์เก่าอยู่ที่หน้าวัดสิงห์
และรูปปั้นสิงห์ดินเผา ๑ คู่ อยู่ที่วัดสิงห์สุทธาวาส ๑ ตัว
และหน้า ที่ว่าการอำเภอบางระจัน ๑ ตัว

       วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการตั้ง จังหวัดสิงห์บุรี คือ วัดสิงห์สุทธาวาส
ต.โพสังโฆ อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี 
ในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรในประเทศไทย กล่าวถึง
ประวัติวัดสิงห์สุทธาวาส ไว้ว่า

         วัดสิงห์สุทธาวาสเดิมชื่อว่าวัดตะเคียน เพราะมีต้นตะเคียนอยู่เป็นสัญลักษณ์ เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่
พ.ศ.๒๓๙๑ ต่อมาทางราชการย้าย
เมืองสิงห์ จากแม่น้ำจักรสีห์มาตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย ทางด้านใต้ของ
วัดตะเคียน และคงจะเปลี่ยนชื่อช่วงต่อมา เรียกกันตามชื่อเมืองว่า 
“วัดสิงห์” ครั้นถึงสมัยของพระมหา
เนี่ยม เกิดเมฆ เป็นเจ้าอาวาส จึงต่อคำท้ายเป็น “วัดสิงห์สุทธาวาส”

        ปัจจุบันวัดสิงห์สุทธาวาส มี พระครูวิสุทธาภิรักษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ ๑๑
สิงหาคม ๒๕๔๑ เป็นต้นมา หลังจากนั้น
ท่านได้ปรับปรุงบริเวณวัดอย่างเป็นสัดส่วนชัดเจน โดยแบ่งเป็น
เขตพุทธาวาส สังฆาวาส ภายในวัดและรอบๆบริเวณวัด จัดบรรยากาศ
ร่มรื่น สวยงามโดยจัดสวนหย่อม
ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ รอบบริเวณวัด ตามต้นไม้จะมีสุภาษิต คติธรรม (ต้นไม้พูดได้) เพื่อไว้เป็นคติ
สอนใจ

        พระครูวิสุทธาภิรักษ์บอกว่า ปูชนียวัตถุมีพระพุทธฉาย อยู่ในมณฑปพระพุทธรูปปางนาคปรก
สร้างด้วยศิลา ชาวบ้านเรียก “หลวงพ่อนาค”
องค์พระเป็นหินสกัดมีพญานาค ๗ เศียร แผ่รัศมีรอบเกศพระ
ด้านหลังองค์พระมีเสมาธรรมจักร นอกจากนี้ยังพบ สิงห์ปั้นด้วยดินเผาอยู่ ๒ ตัว
สันนิษฐาน ว่า สิงห์ที่พบ
นี้เป็นที่มาของชื่อ “วัดสิงห์” ต่อมาขุนสิงขรภุมมา ได้ขอไปไว้ที่ อ.บางระจัน (ซึ่งสมัยนั้นชื่อ อ.สิงห์)
๑ ตัว

       ปัจจุบันยังมีอยู่ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอบางระจัน หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้าน
วัดสิงห์สุทธาวาส มีความเลื่อมใสศรัทธา
เป็นอันมาก ในระหว่างที่พระครูสุนทรปุญญากรเป็นเจ้าอาวาส
วัดสิงห์สุทธาวาสนั้น มีเจ้าหน้าที่จาก อ.บางระจัน มาเตือนท่านว่า ให้รีบย้าย
หลวงพ่อนาคไปไว้ที่อุโบสถ
เพราะว่ามีคนคอยจะขโมย ซึ่งได้พยายามอยู่หลายครั้งแล้ว แต่ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากเกิดปาฏิหาริย์ต่างๆ
นานา
เช่น บางครั้งทำให้เห็นเป็นเงามืดบดบังมองไม่เห็นองค์พระ จึงไม่สามารถขโมยไปได้

       สมัยที่พระอธิการบุญธรรมเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายหลวงพ่อนาคไปประดิษฐานในอุโบสถ ต่อมา
สมัยพระอธิการอวบ เป็นเจ้าอาวาส ถูกขโมย
ไปอีกจนสำเร็จ และไม่สามารถติดตามกลับคืนมาได้ แต่ทราบ
ภายหลังว่า พวกที่ขโมยไปประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหมด หลวงพ่อนาคที่เห็น
อยู่นี้เป็นองค์จำลองที่ทำ
จากปูนปั้น

       เจ้าอาวาสวัดสิงห์สุทธาวาสยังเล่าด้วยว่า ในช่วงที่ พระมหาเนี่ยมเป็นเจ้าอาวาสได้เริ่ม
พัฒนาวัด โดยคิดสร้างกุฏิ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์
สามเณรได้อยู่จำพรรษาจึงได้ปรึกษาหารือกับ
ชาวบ้านว่า วัดเรามีต้นตะเคียนเป็นจำนวนมาก ท่านคิดว่าจะโค่นต้นตะเคียน เพื่อเอาไม้มา
ทำกุฏิ
ชาวบ้านเห็นด้วยจึงเริ่มโค่นต้นตะเคียน แต่เนื่องจากไม้ตะเคียนเป็นไม้ที่แรง (นางไม้) เมื่อใคร
ลงมือโค่นก็ทำให้เจ็บป่วย และ
ล้มตายไปหลายคน พระมหาเนี่ยมจึงยุติการโค่นต้นตะเคียน

       คืนหนึ่งพระมหาเนี่ยม ฝันว่า มีนางไม้มาหาท่าน และบอกท่านว่า ถ้าท่าน
สามารถกินเหล็ก
ได้ก็จะโค่นต้นตะเคียนได้ ด้วยความฉลาดของท่านมหาเนี่ยม ท่านจึงเอาตะไบมาตะไบเหล็ก แล้ว
เอาเศษเหล็กผงตะไบ
ที่ได้ไปคลุกข้าวฉัน เพื่อเป็นการแก้เคล็ด ตามที่ฝัน จากนั้นได้ดำเนินการโค่น
ต้นตะเคียนต่อ จึงสามารถทำได้สำเร็จ สามารถสร้างกุฏิได้ 
๙ หลัง พร้อมกับสร้างศาลาการเปรียญ
ชั้นเดียว ยกใต้ถุนสูงประมาณ ๑ เมตร อีก ๑ หลัง เพื่อให้พระเณรได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
และใช้เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของนักเรียนในสมัยนั้น

ขอบคุณภาพ / ข้อมูลาจากเฟส ไหว้พระ