วัดพรหมเทพาวาส
27 มิถุนายน 2560

       ตั้งอยู่เลขที่ ๔๔/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี จังหวัดิสิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี
พิพิธภัณฑ์เมืองพรหมบุรี ฉลอง ๑๐๐ ปี เสด็จประพาสต้น เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
มีศาลาท่านเจ้าคุณมงคลทิพย์
มุนี(มุ้ย) เป็นอาคารไม้ทรงไทย

       ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ บางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๘ เซ็นติเมตร สูง ๑.๔๐ เมตร
มีนามว่า
"พระพรหมพิพัฒน์สัตยา" เคยเป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการการเมืองพรหมบุรี
ในอดีต

        ปูชนียวัตถุอื่นๆ  ตู้พระไตรปิฎก และ พระไตรปิฏก ฉบับพิมพ์ชุดแรกของโลก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใน
วโรกาสบำเพ็ญพระราชกุศล
ในพระราชพิธีรัชดาภิเษกฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ร.ศ.๑๑๒ พระกรุ
วัดชลอน เนื้อผง เนื้อดิน  เนื้อชิน  เป็นพระกรุที่บรรจุอยู่ใน
ใต้ฐานพระพุทธรูป พระพุทธรูปปางลีลา เจดีย์
พระสุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงกลม และเจดีย์ริมน้ำ ๓ องค์ 

        วัดพรหมเทพาวาส ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จากประวัติพระพิมลธรรม
(อ้น) ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร
ที่วัดพรหมเทพาวาส(ชลอน)  เมื่ออายุ ๑๔ ปี พ.ศ.๒๓๗๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มี
พระครูพรหมนครบวรมุนี(อุ่น) เจ้าอาวาสเป็นอุปัชฌาย์และมีสำนักเรียน
บาลีที่วัดแห่งนี้ แสดงว่า วัดเจริญรุ่งเรือง
มากตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
      และมีพระราชาคณะอุปถัมภ์ คือ พระพิมลธรรม(อ้น) เจ้าอาวาส
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม อุปถัมภ์วัดใน
สมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ต่อมาพระมงคลทิพยมุนี(มุ้ย) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส อุปถัมภ์วัดใน
สมัย
รัชกาลที่ ๖ ถึงรัชกาลที่ ๗ ปฎิสังขรณ์พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสร้างอาคารเรียนมงคลนิธิ วัดพรหมเทพาวาส
(ชลอน) เป็นวัดสำคัญคู่เมืองพรหมบุรี
เป็นสถานที่สำหรับข้าราชการการเมืองพรหมบุรี จัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ใน
อุโบสถเป็นประจำทุกปี การที่พระพิมลธรรม(อ้น) มีชาติภูมิอยู่ที่พรหมบุรี 
อุปสมบทที่วัดพรหมเทพาวาส เป็นพระราชา
คณะที่รัชกาลที่ ๕ ทรงนับถือ ทำให้พระองค์ทรงรู้จักวัดพรหมเทพาวาส(ชลอน) ดังหลักฐานที่บันทึกใน
พระราชนิพนธ์
เสด็จพระราชดำเนินเมืองลพบุรีและอื่นๆ พ.ศ.๒๔๒๑ ระหว่างที่เสด็จกลับพระนครทางชลมารคตามลำน้ำเจ้าพระยา
ผ่านหน้าวัดพรหมเทพาวาส
(ชลอน) ทรงบันทึกว่า เห็นวัดชลอน ซึ่งพระธรรมไตรโลก สร้างช่อฟ้าใบระกา ปิดทองใหม่
หอระฆังข้างหน้าทำเป็นยอดเกี้ยวดูงามดีอยู่ 

     วัดนี้ พระธรรมไตรโลก ว่า เดิมชื่อวัดพรหมเทพาวาส ราษฏรเรียกว่า "วัดชลอน" ตามตำบลบ้าน กรมการเมืองพรหม
ถือน้ำที่นั้น แลถึงฤดูเทศกาลราษฏร
ก็มานมัสการพระวัดนี้ด้วย ซึ่งพระธรรมไตรโลกสร้างวัดนี้ เพราะชาติภูมิเดิมของ
ท่านอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ
ประพาสต้นเยี่ยมเยียนราษฏรที่วัด
พรหมเทพาวาส (ชลอน) เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕) ทรงบันทึกว่า
       "วันที่ ๗ เช้า ๒ โมง ออกเรือไชโย ๔ โมง ถึงวัดชลอนพรหมเทพาวาสของท่านพิมลเทพาวาส(อ้น) ขึ้นถ่ายรูป
มีพี่น้องพระพิมลมารับมาก ต้นโพธิ์กิ่งตอนวัดนิเวศน์ใหญ่โตงามดีมาก แต่เอียง
ไปข้างหนึ่งเพราะหลบต้นมะม่วง อยู่ไม่
ถึงครึ่งชั่วโมงออกจากวัดชลอน ทรงถ่ายภาพศาสนสถาน ประชาชนที่มารับเสด็จ"

      เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบถึงสภาพของวัดในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จ
สมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ที่วัดพรหมเทพาวาส
(ชลอน) เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๖๐
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๔๕ เมตร 

       การปกครอง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระอธิการปัญญา ปสนฺโน