ตำนานหมู่บ้านดงยาง หมู่ที่ ๑๒ ต.ทองเอน
9 กันยายน 2560

/data/content/273/cms/bcefghikqtv4.jpg

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๒.๐๐ น.
ภาพความสวยงามของ ต้นดอกทานตะวัน ที่ออกดอกชูบาน
รับแสงตะวันตลอดวัน ณ บริเวณริมคลองชลประทานสายกลาง หมู่บ้าน
ซึ่งทำการปลูกโดยฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผู้ นำชุมชนในนาม
นายศิริโชค แสงวิไลสาธร และทีมลูกบ้าน

แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นผู้นำ และความสามัคคีของคน
ในชุมชน

/data/content/273/cms/acfiknoqstu3.jpg

บ้านดงยางนี้ มีที่มาหลายยุคบรรพบุรุษ ที่ ถากถางกันมาเรื่อยจนปัจจุบัน
ซึ่งถ้าหาก ย้อนไปในอดีต จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่า กล่าวว่า แต่เดิมนั้นชาวบ้าน
ดงยาง เป็นลาว เวียงจันทร์แต่ได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ในไทย และได้รวมตัวกันอยู่ตาม
ที่ต่างๆเป็นกลุ่ม เครือญาติ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีชื่อหมู่บ้าน

ต่อมาเริ่มมีผู้คนมาอาศัยมากขึ้น และคน เหล่านั้น ได้นำเแพะเข้ามาเลี้ยงใน
กลุ่มบ้านด้วย ชาวบ้านใกล้เคียงจึงเรียกกลุ่มบ้านนี้ว่า "บ้านขี้แพะ" เรือยมาจน
ติดปากและด้วย ความที่วัดที่มีมา แต่ก่อนมีต้นยางขึ้นอยู่ มากมาย แต่ละต้นมี
ขนาดใหญ่ ๓-๔ คนโอบ

ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดดงยาง" ต่อมาความเจริญเข้าถึงหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน
เห็นว่า ชือวัดกับชื่อหมู่บ้านไม่ตรงกัน จึง เปลี่ยนชื่อบ้านขี้แพะเป็น"บ้านดงยาง"
สำหรับต้นยางนั้น อดีตเจ้าอาวาสท่านพระ ครูสาคร กับชาวบ้านได้โค่นล้มมาสร้างเป็น
โรงเรียนให้กับเด็กในหมู่บ้านได้เรียนหนังสือ โดยตั้งชื่อว่า โรงเรียนสาครประชาสรร ซึ่ง
เป็นชื่ออดีตเจ้าอาวาส และปัจจุบันก็ได้ เปลี่ยนเป็นโรงเรียนชุมชนวัดดงยาง

อีกทั้ง ทางวัดได้อุทิศพื้นที่ให้สร้างโรงเรียน ทองเอนวิทยาเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง
ที่สำคัญท่านพระครูสาคร ได้นำชาวบ้าน ขุดดินถางทางและทำถนนเชื่อมต่อระหว่าง
อำเภออินทร์บุรี จนถึง ทางเข้าหมู่บ้านทองเอน และในปัจจุบันถนนเส้นนี้ ก็กลายเป็น
ถนนหลวง ให้ลูกหลานและชาวบ้านใช้เดินทางผ่าน สัญจร ไปลอดอุโมงค์เข้า
ตลาดอินทร์ในปัจจุบัน