ไหสี่หู อ.บางระจัน
30 กันยายน 2560

/data/content/294/cms/aflouvwyz456.jpg

ไหสี่หู เป็นโบราณวัตถุ ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงรีป่องออก ค่อนมาทางด้านบน ส่วนที่
ป่องออกมาจะมีหูสี่หู ติดอยู่ ลักษณะของหู จะเป็นเส้นทรงกลม โค้งงอ เป็นรูปวงรีติดอยู่
ทำจากดินเหนียวเผา และเคลือบเงา คาดว่าเป็นโบราณวัตถุ สมัยกรุงสุโขทัย
ตอนปลาย อายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี

ไหสี่หูที่ตั้งอยู่กลางสี่แยก อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรีนี้ ทางหน่วยงานราชการ
สร้างไว้เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาวบางระจัน ในเรื่องของการค้นพบไหเก่าที่มีสี่หู เรียกว่า
"ไหสี่หู" ในแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี 

โดยไหสี่หูโบราณ ที่ถูกค้นพบนัั้น เป็นจุดอยู่ที่วัดพระปรางค์ ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน
จ.สิงห์บุรี บริเวณเนินดินเตาเผาหมายเลข ๒  มีขนาดเล็ก มีหู ๔ หู เนื้อแกร่งเคลือบ
สีน้ำตาลแกมเหลือง มีขนาด ศก.ปาก ๑๑.๓๐ ซม.หน้า ๐.๕๐ ซม. ลำตัว ๑๗.๑๐ ซม.
รูปทรงสมบูรณ์ชิ้นส่วนก้นและลำตัว บางส่วนชำรุด ต่อชิ้นส่วนไว้  ไหสี่หูนี้ ได้จัด
เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี 

ไหสี่หู มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น สวยงามไม่เหมือนไหถูกค้นพบจากที่อื่นๆ  ดังนั้น
ทางจังหวัด จึงสร้างไว้เพื่อให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ในพื้น
ที่แห่งนี้ อีกทั้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอารยธรรมโบราณที่สำคัญของประเทศไทย