ประวัติศาสตร์อำเภอพรหมบุรี
1 สิงหาคม 2560

 

ประวัติ
      เมืองพรหมบุรีนั้นสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานกันว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าพรหม 
(พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ผู้ครองเมืองไชยปราการ (ฝาง) ได้โปรดให้สร้างขึ้นขนานนามว่า 
เมืองพรหมบุรี ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน หมู่ที่ 5 ตำบลพรหมบุรี
       ในปัจจุบัน ตามหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนนั้น มีเมืองพรหมบุรีตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี
ที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว และได้ตั้งเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วยังเป็นหัวเมืองชั้น
ในและหัวเมืองชั้นในหน้าด่านทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดง
ให้เห็นว่าเมืองพรหมบุรีมีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา
       ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมือง
ชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองพรหมบุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 
เมืองพรหมบุรีขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 
เกณฑ์ผู้รักษาเมืองพรหมบุรียกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกสุ่มกำลังยกลงไปขุดคูเลน
พระนครเมืองธนบุรี
       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ เมืองพรหมบุรีอยู่ในอำนาจ
ปกครองของสมุหนายก โดยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เมืองพรหมบุรีคงมีฐานะ
เป็นเมืองตลอดมา ในกฎมณเฑียรบาลเป็นเมืองสำหรับหลานหลวงครอง ในกฎหมายลักพาบทหนึ่งเรียกชื่อว่า 
"พระพรหมนคร" แต่ในทางการปกครองได้ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวา มีเจ้าเมืองปกครองตลอดมา ได้มีการ
ย้ายที่ตั้งเมืองจากใต้วัดอัมพวันไปอยู่ที่ปากปางหมื่นหาญ (อยู่เหนือตลาดปากบาง หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมบุรี) 
ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่จวนหัวป่า เหนือวัดพรหมเทพาวาส
        ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครอง
แบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี เรียกว่า 
อำเภอพรหมบุรี โดยได้ทำการสร้างที่ว่าการอำเภอที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งโรงเรียนพรหม
วิทยาคารในปัจจุบัน) หมู่ที่ 3 ตำบลพรหมบุรี
        ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2486 นายอนันต์ โพธิพันธ์ นายอำเภอพรหมบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่เหนือ
วัดกุฎีทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว เนื่องจากที่ตั้งอำเภอเดิมใกล้ตัวเมืองสิงห์บุรี แต่ห่างไกลจากตำบลอื่น ๆ 
และประกอบกับมีราษฎรในพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวได้บริจาคที่ดินในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่
        ต่อมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เวลา 08.19-09.30 น.ประกอบด้วยภูมิปาโลแห่งฤกษ์ 
นายพนม นันทวิสิทธิ์ นายอำเภอพรหมบุรี ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นายพิจิตร วงษ์จินดา นายอำเภอพรหมบุรี 
ผู้ดำเนินการปรับปรุง นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ประธานวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้าง
ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เนื่องจากอำเภอเดิมมีสภาพทรุดโทรม และคับแคบ โดยได้รับงบประมาณจากกรม
การปกครองและมีราษฎรในพื้นที่ร่วมบริจาคในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างบริเวณ
ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอหลังเดิม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 3 ตำบลบางน้ำเชี่ยว และใช้เป็นที่ว่า
การอำเภอจนถึงปัจจุบัน
       อำเภอพรหมบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน 
รวม 42 หมู่บ้าน ได้แก่
1.พระงาม (Phra Ngam)
2.พรหมบุรี  (Phrom Buri)
3.บางน้ำเชี่ยว  (Bang Nam Chiao)
4.บ้านหม้อ  (Ban Mo)
5.บ้านแป้ง (Ban Paeng)
6.หัวป่า (Hua Pa)
7.โรงช้าง (Rong Chang)

ประวัติ

      เมืองพรหมบุรีนั้นสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานกันว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าพรหม 
(พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก) ผู้ครองเมืองไชยปราการ (ฝาง) ได้โปรดให้สร้างขึ้นขนานนามว่า 
เมืองพรหมบุรี ตั้งอยู่ใต้วัดอัมพวัน หมู่ที่ ๕ ตำบลพรหมบุรี

       ในปัจจุบัน ตามหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนนั้น มีเมืองพรหมบุรีตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี
ที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว และได้ตั้งเมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วยังเป็นหัวเมืองชั้น
ในและหัวเมืองชั้นในหน้าด่านทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดง
ให้เห็นว่าเมืองพรหมบุรีมีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา

       ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ทรงจัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมือง
ชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองพรหมบุรีจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 
เมืองพรหมบุรีขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ.๒๓๑๖
เกณฑ์ผู้รักษาเมืองพรหมบุรียกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออกและคุมพรรคพวกสุ่มกำลังยกลงไปขุดคูเลน
พระนครเมืองธนบุรี

       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ เมืองพรหมบุรีอยู่ในอำนาจ
ปกครองของสมุหนายก โดยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น เมืองพรหมบุรีคงมีฐานะ
เป็นเมืองตลอดมา ในกฎมณเฑียรบาลเป็นเมืองสำหรับหลานหลวงครอง ในกฎหมายลักพาบทหนึ่งเรียกชื่อว่า 
"พระพรหมนคร" แต่ในทางการปกครองได้ถูกจัดให้เป็นหัวเมืองจัตวา มีเจ้าเมืองปกครองตลอดมา ได้มีการ
ย้ายที่ตั้งเมืองจากใต้วัดอัมพวันไปอยู่ที่ปากปางหมื่นหาญ (อยู่เหนือตลาดปากบาง หมู่ที่ ๑ ตำบลพรหมบุรี) 
ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่จวนหัวป่า เหนือวัดพรหมเทพาวาส

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองแบบ
มณฑลเทศาภิบาล เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัว
ทรงเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ.๒๔๓๙ ยุบเมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี เรียกว่า
อำเภอพรหมบุรี โดยได้ทำการสร้างที่ว่าการอำเภอที่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งโรงเรียนพรหม
วิทยาคารในปัจจุบัน) หมู่ที่ ๓ ตำบลพรหมบุรี

       ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ นายอนันต์ โพธิพันธ์ นายอำเภอพรหมบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่เหนือ
วัดกุฎีทอง หมู่ที่ ๓ ตำบลบางน้ำเชี่ยว เนื่องจากที่ตั้งอำเภอเดิมใกล้ตัวเมืองสิงห์บุรี แต่ห่างไกลจากตำบลอื่นๆ 
และประกอบกับมีราษฎรในพื้นที่ตำบลบางน้ำเชี่ยวได้บริจาคที่ดินในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่

        ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๐๘.๑๙-๐๙.๓๐ น.ประกอบด้วยภูมิปาโลแห่งฤกษ์ 
นายพนม นันทวิสิทธิ์ นายอำเภอพรหมบุรี ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นายพิจิตร วงษ์จินดา นายอำเภอพรหมบุรี 
ผู้ดำเนินการปรับปรุง นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ประธานวางศิลาฤกษ์ ในการก่อสร้าง
ที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เนื่องจากอำเภอเดิมมีสภาพทรุดโทรม และคับแคบ โดยได้รับงบประมาณจากกรม
การปกครองและมีราษฎรในพื้นที่ร่วมบริจาคในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยก่อสร้างบริเวณตรง
ข้ามกับที่ว่าการอำเภอหลังเดิม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ ๓ ตำบลบางน้ำเชี่ยว และใช้เป็นที่ว่า
การอำเภอ
จนถึงปัจจุบัน

       อำเภอพรหมบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น ๗ ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน 

รวม ๔๒ หมู่บ้าน ได้แก่
๑.พระงาม (Phra Ngam)
๒.พรหมบุรี  (Phrom Buri)
๓.บางน้ำเชี่ยว  (Bang Nam Chiao)
๔.บ้านหม้อ  (Ban Mo)
๕.บ้านแป้ง (Ban Paeng)
๖.หัวป่า (Hua Pa)
๗.โรงช้าง (Rong Chang)

ข้อมูล / วิกีพีเดีย